วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

เรื่อง นิราศนริทร์คำโคลง

เรื่อง นิราศนริทร์คำโคลง


เรื่องย่อ
    นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน)  ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก (ใหญ่)  วัดหงส์  วัดสังข์กระจาย  บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง

คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณ

เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

การอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง

การอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง

การอ่านเพื่อพัฒนาความรู้        แบ่งออกเป็น
๑. ความรู้ทั่วไปหรือความรู้รอบตัว
๒. ความรู้เฉพาะ (คือความรู้ที่เกี่ยวกับอาชีพของตน)
ไม่ว่าจะเป็นการอ่านเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปหรือความรู้เฉพาะก็ตาม จะหาข้อมูลได้จากหนังสือเฉพาะวิชานั้นๆ  เช่น  วิชาการแพทย์  วิศวกรรม  นักปกครอง  นักกฏหมาย  ฯลฯ   หนังสือพิมพ์  ข่าว  โฆษณาต่างๆ หนังสือวารสาร นิทาน  นิยาย  วรรณคดี  ฯลฯ    คนที่จะมีความรู้ทันโลกต้องอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์  ซึ่งจะดีกว่าการฟังข่าวจากวิทยุและดูโทรทัศน์

การย่อความ

การย่อความ

การเขียนย่อความ ควรมีหลักในการเขียน ดังนี้

๑. อ่านเรื่องที่จะย่อความให้จบอย่างน้อย ๒ ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และผลเป็นอย่างไร
๒. บันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เเล้วนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของตนเอง
๓. อ่านทบทวนใจความสำคัญที่เขียนเรียบเรียงแล้ว จากนั้นแก้ไขให้สมบูรณ์ โดยตัดข้อความที่ซ้ำซ้อนกันออก เพื่อให้เนื้อหากระชับ และเชื่อมข้อความให้สัมพันธ์กันตั้งเเต่ต้นจนจบ
๔. เขียนย่อความให้สมบูรณ์ โดยเขียนแบบขึ้นต้นของย่อความตามรูปแบบของประเภทข้อความนั้นๆ เช่น การย่อนิทาน การย่อบทความ
๕. การเขียนย่อความไม่นิยมใช้สรรพยามบุรุษที่ ๑ และสรรพนามบุรุษที่ ๒ คือ ฉัน คุณ ท่าน แต่จะใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น เขา และไม่เขียนโดยใช้อักษรย่อ นอกจากนี้ หากมีการใช้คำราชาศัพท์ต้องเขียนให้ถูกต้อง ไม่ควรตัดทอน

การสื่อสารผ่านจดหมาย

การสื่อสารผ่านจดหมาย

การเขียนจดหมายเป็นวิธีสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรแทนการพูด  ถึงแม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสารมีให้เลือกสื่อสารได้หลายช่องทาง  แต่จดหมายก็ยังมีความจำเป็นอยู่มาก          ประเภทของจดหมาย   แบ่งออกเป็น 4 ประเภท  ดังนี้          1.  จดหมายส่วนตัว  เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อระหว่างบุคคลที่คุ้นเคยกัน  อาจเป็นญาติสนิท  ครู  อาจารย์  เพื่อไต่ถามทุกข์สุขส่วนตัว  เล่าเรื่องราวที่พบเห็นมา  แสดงความเสียใจ  แสดงความยินดี  หรือขอบคุณ  หรือแจ้งกิจธุระบางอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ          2.  จดหมายธุรกิจ  เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันระหว่างบริษัท  ห้างร้าน  และองค์กรต่าง ๆ เพื่อติดต่อกันในเรื่องเก่ยวกับธุรกิจ  พาณิชยกรรม  และการเงิน          3.  จดหมายกิจธุระ  เป็นจดหมายที่บุคคลเขียนติดต่อกับบุคคลอื่น  หรือระหว่างบุคคลกับบริษัท  ห้างร้าน  องค์กร  เพื่อแจ้งธุระต่าง ๆ เช่น  นัดหมาย  ขอสมัครงาน  ขอทราบผลการสอบบรรจุพนักงาน  ขอความช่วยเหลือ  และขอคำแนะนำเพื่อประโยชน์ในด้านการงานต่าง ๆ          4.  จดหมายราชการหรือที่เรียกว่าหนังสือราชการ  เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ หรือบุคคลเขียนไปถึงส่วนราชการ  หรือส่วนราชการมีไปถึงส่วนราชการด้วยกันเอง  ตลอดจนส่วนราชการนั้นเขียนจดหมายไปถึงตัวบุคคล  การเขียนจดหมายราชการต้องคำนึงถึงแบบของหนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณด้วย  ข้อความในหนังสือดังกล่าวถือว่าเป็นหลักฐานทางราชการ  มีสภาพผูกมัดถาวร  ดังนั้นจึงควรเขียนให้กระจ่างและชัดเจน

ความรู้พื้นฐานในการพูด

ความรู้พื้นฐานในการพูด


 เพื่อให้การพูดประสบความสาเร็จ ผู้พูดควรมีความรู้พื้นฐานในการพูด ดังต่อไปนี้

ประเภทของการพูด
            ประเภทของการพูดแบ่งตามลักษณะการพูดได้ 2 ประเภท ดังนี้
            1. การพูดอย่างไม่เป็นทางการ คือ การพูดในชีวิตประจำวัน เช่น การสนทนา การพูดโทรศัพท์ การแนะนำตัว การซักถาม การตอบคำถาม เป็นต้น     ผู้พูดต้องฝึกฝนให้เป็นผู้ที่พูดได้ถูกต้อง น่าฟัง และเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
            2. การพูดอย่างเป็นทางการ หมายถึง การพูดอย่างเป็นพิธีการในที่ประชุม หรือ การพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่าง ๆ และเพื่อจุดหมายต่าง ๆ ต้องอาศัยความรู้ความสามารถและมีศิลปะในการพูด การพูดอย่างเป็นทางการ เช่น การปาฐกถา การอภิปราย บรรยาย การกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น

การพัฒนาสมรรถภาพการฟัง

การพัฒนาสมรรถภาพการฟัง
1. สร้างความสนใจและความต้องการที่จะฟัง ผู้ฟังที่ดีต้องให้ความสนใจกับเรื่องที่ฟังแม้ว่าเรื่องที่ฟังจะ ไม่ตรงกับความสนใจของตนเองก็ตาม ผู้ฟังต้องรู้หัวข้อเรื่องรวมทั้งจุดประสงค์ว่าฟังเพื่ออะไร
2. ฟังด้วยความตั้งใจ เป็นการฟังอย่างมีสมาธิ จิตใจจดจ่อกับเรื่องที่ฟัง
3. จับใจความสำคัญของเรื่องและคิดวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องราวที่ฟัง
   1. จับใจความให้ได้ว่า เรื่องที่ฟังเป็นเรื่องอะไร เกิดที่ไหน เรื่องเป็นอย่างไร
   2. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องราวที่ฟังว่าเป็นอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุ ผลเป็นอย่างไร
   3. แยกแยะข้อความว่าตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ตอนใดเป็นข้อคิดเห็น
   4. พิจารณาจุดมุ่งหมายในการพูดของผู้พูด รวมทั้งเหตุผลที่นำมาสนับสนุนการพูด