การย่อความ
การเขียนย่อความ ควรมีหลักในการเขียน ดังนี้
๑. อ่านเรื่องที่จะย่อความให้จบอย่างน้อย ๒ ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และผลเป็นอย่างไร
๒. บันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เเล้วนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของตนเอง
๓. อ่านทบทวนใจความสำคัญที่เขียนเรียบเรียงแล้ว จากนั้นแก้ไขให้สมบูรณ์ โดยตัดข้อความที่ซ้ำซ้อนกันออก เพื่อให้เนื้อหากระชับ และเชื่อมข้อความให้สัมพันธ์กันตั้งเเต่ต้นจนจบ
๔. เขียนย่อความให้สมบูรณ์ โดยเขียนแบบขึ้นต้นของย่อความตามรูปแบบของประเภทข้อความนั้นๆ เช่น การย่อนิทาน การย่อบทความ
๕. การเขียนย่อความไม่นิยมใช้สรรพยามบุรุษที่ ๑ และสรรพนามบุรุษที่ ๒ คือ ฉัน คุณ ท่าน แต่จะใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น เขา และไม่เขียนโดยใช้อักษรย่อ นอกจากนี้ หากมีการใช้คำราชาศัพท์ต้องเขียนให้ถูกต้อง ไม่ควรตัดทอน
๑. อ่านเรื่องที่จะย่อความให้จบอย่างน้อย ๒ ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และผลเป็นอย่างไร
๒. บันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เเล้วนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของตนเอง
๓. อ่านทบทวนใจความสำคัญที่เขียนเรียบเรียงแล้ว จากนั้นแก้ไขให้สมบูรณ์ โดยตัดข้อความที่ซ้ำซ้อนกันออก เพื่อให้เนื้อหากระชับ และเชื่อมข้อความให้สัมพันธ์กันตั้งเเต่ต้นจนจบ
๔. เขียนย่อความให้สมบูรณ์ โดยเขียนแบบขึ้นต้นของย่อความตามรูปแบบของประเภทข้อความนั้นๆ เช่น การย่อนิทาน การย่อบทความ
๕. การเขียนย่อความไม่นิยมใช้สรรพยามบุรุษที่ ๑ และสรรพนามบุรุษที่ ๒ คือ ฉัน คุณ ท่าน แต่จะใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น เขา และไม่เขียนโดยใช้อักษรย่อ นอกจากนี้ หากมีการใช้คำราชาศัพท์ต้องเขียนให้ถูกต้อง ไม่ควรตัดทอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น